Green Knowledge

ระยะทางวิ่งรถยนต์ไฟฟ้า NEDC / WLTP / EPA

มีกี่แบบ? ต่างกันอย่างไร?

สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ระยะทางวิ่งต่อการชาร์จ 1 ครั้ง เป็นสิ่งที่เราค่อนข้างให้ความสำคัญ และเป็นจุดขายที่สำคัญของรถแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ เคยสังเกตุมั๊ยครับ ระยะทางที่รถไฟฟ้าแต่ละรุ่นแจ้งไว้ว่าขับได้ระยะทางสูงสุดกี่ไมล์หรือกี่กิโลเมตรนั้น จะมีตัวอักษรภาษาอังกฤษกำกับไว้อยู่เสมอ โดยทั่วไปที่ทั่วโลกใช้กันอยู่มี 3 แบบด้วยกันคือ

NEDC (New European Driving Cycle)

เป็นมาตรฐานการวัดระยะทางของทางยุโรป เริ่มใช้มาตั้งแต่ยุค 70-80s เน้นการใช้งานในเมืองและถนนชานเมือง

WLTP (Worldwide Harmonized Light Vehicle Test Procedure)

เป็นมาตรฐานการวัดระยะทางของทางยุโรปเช่นกัน เริ่มใช้เมื่อปี 2017 ปรับปรุงเพื่อให้ใกล้เคียงการใช้รถจริงในปัจจุบันมากขึ้น ใช้แทนการวัดแบบเดิมคือ NEDC

US EPA (United States Environmental Protection Agency)

เป็นมาตรฐานการวัดระยะทางของทางฝั่งอเมริกา ซึ่งจะมีการทดสอบ ทั้งแบบในเมือง (City) และการวิ่งบนทางไกล (Highway)

นำตัวอย่างมาให้ดูจากรถ 4 รุ่น จะเห็นได้ว่ารุ่นเดียวกัน ตัวเลขระยะทางสูงสุดที่ทำได้จะแตกต่างกันตามรูปแบบการทดสอบ ที่มีขั้นตอนหรือวิธีการในการทดสอบที่ต่างกัน

จากตารางข้อมูลการทดสอบ (แบบสรุปย่อ) ก็จะเห็นได้ถึงความแตกต่างของการทดสอบแต่ละแบบ ซึ่งจริงๆแล้วในการทดสอบยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากครับ

ตัวเลขไม่ว่าจะแบบไหนก็ตาม มีไว้ให้ดูเป็นแนวทาง และเปรียบเทียบสำหรับรถยนต์รุ่นต่างๆ แต่คงไม่มีแบบไหนทีได้ผลตรง 100% กับลักษณะการใช้งานและการขับขี่ของตัวเราเองอย่างแน่นอน

ระยะทางวิ่งของรถไฟฟ้าจะได้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่ กำลังของมอเตอร์ น้ำหนักตัวรถ น้ำหนักบรรทุก และที่ตัวแปรสำคัญ ที่แม้แต่รถยี่ห้อเดียวกัน รุ่นเดียวกัน อาจได้ระยะที่ต่างกันก็คือ ลักษณะหรือพฤติกรรมการขับขี่ของตัวเรานั่นเองครับ